ความสัมพันธ์ของคู่รักกับทฤษฎี "SVR" !!เหยคือไรหย่าาาร์


กำลังสงสัยอยู่ใช่มั้ยล่าา ว่าทฤษฎี SVR คืออัลไลลล
ก่อนอื่นต้องบอกว่า SVR นี้ ไม่เกี่ยวกับ SLR หรือ CRV หรือแสงUVใดๆทั้งสิ้น.
ฮาา(เอ๊ะหรือไม่ฮา)


SVR เป็นอักษรนำของคำ 3 คำที่แบ่งเป็น 3 ระยะตามลำดับ 
S - Stimulus | ระยะกระตุ้น
V - Value | ระยะคุณค่า
R - Role | ระยะบทบาท

ทฤษฎี"The Stimulus-Value-Role Theory"นี้มาจากนักจิตวิทยาที่ชื่อว่า Bernard I. Murstein ค่ะคุณผู้โชมม 

เอ...แล้วมันเกี่ยวเนื่องอะไรกับความสัมพันธ์ของคนเราน้าาา 
ติ๊กต็อกๆ
เอาล่ะ เรามาเฉลยกันดีกว่าา

ขั้น S เนี่ย เป็นขั้นแรกที่ต่างคนต่างถูก รูปลักษณ์ ท่าทางท่วงที และนิสัย หรือข้อมูลเชิงตื้นของอีกฝ่ายดึงดูด
พูดง่ายๆก็คือ อะไรก็ตามที่ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อกัน 
พอความรู้สึกดีเกิดขึ้นในความสัมพันธ์แล้ว แน่นอนว่าคนสองคนนี้ก็คงจะคบหากันอย่างเสียมิได้ (เอ ทำไมดูเหมือนจำยอม #55)
และต่อไปจึงทำให้เกิดขั้น V ขึ้นค่ะคุณผู้โชมม



ขั้น V - Value หรือ คุณค่า/คุณประโยชน์ นั่นเอง ขั้นนี้จะเป็นระยะที่คู่รักใช้เวลาร่วมกัน ทำอะไรหลายๆอย่างร่วมกัน เรียกได้ว่าเป็นขั้นลงรายละเอียดในความสัมพันธ์เลยทีเดียว เพราะเราจะใกล้ชิดกันมากขึ้นและได้รู้ข้อมูลของอีกฝ่ายมากขึ้น ทั้งเขาชอบอะไร เกลียดอะไร ฟังเพลงแนวไหน สีที่ชอบคืออะไร บลาบลาบลา จนถึงความคิดและทัศนคติ 

จากตรงนี้เราก็จะรู้ได้คร่าวๆแล้ว ว่าคนที่เรากำลังคบอยู่นั้นมีแนวโน้มที่จะเข้ากับเราได้มากน้อยแค่ไหน


ขั้น R (role) ถ้าคิดว่าเข้ากันได้สุดๆ หรือคิดว่าเข้ากันได้ไม่มากแต่มีความสุขและอยากไปต่อ ก็จะเริ่มเข้าระยะ"บทบาท"ค่าคุณผู้โชมมม

แน่นอนว่าการไปต่อได้ของความรักไม่ใช่แค่มีสิ่งที่ชอบเหมือนกัน หรือมีความคิดหลายอย่างตรงกัน ....... แต่.......
ต้องมีเงินด้วย.
อ่าว ไม่ใช่หรอ 😐 
อ๋อๆ ทฤษฎีไม่ได้กล่าวไว้ #55

กลับมาเข้าเรื่องต่อ. ระยะ role เป็นระยะที่คู่รักจะตัดสินใจว่าจะแต่งงานกันมั้ย #โอ๊ววเป็นระยะที่สำคัญมาก

ก่อนจะแต่งงานกับใครสักคนเราก็คงต้องการแน่ใจและมั่นใจกับคนคนนั้น ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา
ซึ่งเราจะวางใจในความสัมพันธ์หลังแต่งงานได้มากขึ้นถ้า!...
ในสถานการณ์ต่างๆของชีวิตจริง! คนรักของเราสามารถเล่นบทบาทต่างๆได้!
เพราะในชีวิตจริงที่ต้องอยู่ร่วมกัน ไม่ใช่มีแค่บทบาทของหญิงอันเป็นที่รักที่แสนมุ้งมิ้งฟรุ้งฟริ้งแสนซน all the time หรือ บทบาทของชายหัวใจแกร่งตลอดเวย์. (แต่ขอให้อันนี้เป็นบทบาทหลักนะ 😜)

และถ้าคุณค่าในตัว ที่คนคนนึงเป็นและทัศนคติความคิดที่คนคนนึงมีนั้น เป็นไปในทางเดียวกับพฤติกรรมและการแสดงออก (และควรจะเป็นไปในทางที่ดีนะ)ก็เป็นไปได้สู๊งสูงว่า เขาทั้งสองจิแต่งงานกันและใช้ชีวิตร่วมกันได้. สรุปง่ายๆก็คือ ดูว่าเขา walk it เหมือนเขา talk it รึป่าวนั่นเองค่าคุณผู้โชมมม.

                                             

ช่วงครุ่นคริสๆ : การสร้างความสัมพันธ์ของคนสองคนก็คงเหมือนกับการนั่งต่อจิกซอว์ภาพใหญ่ภาพหนึ่ง เราต่างช่วยกันต่อเติมส่วนที่ขาดหายไป เราต่างต่อผิดต่อถูก เราปรับเปลี่ยน สังเกต และค้นหา จนกว่ามันจะลงล็อค
ระหว่างต่ออาจเหนื่อยบ้างท้อบ้าง แต่ถ้ายังมีความสุขที่จะนั่งต่อภาพๆนี้ไปเรื่อยๆกับคนคนนั้น มันก็ต้องมีซักวันแหล่ะที่ภาพจิกซอว์แห่งความสัมพันธ์จะสมบูรณ์และลงตัว.
เราอาจจะคิดว่าต่อเสร็จเอามาใส่กรอบแขวนไว้ที่ผนังก็คงจบขั้นตอน
แต่มันก็คงจะไม่มีค่าอีกต่อไป ถ้าเราลืมว่าเราเคยทุ่มเท เคยใช้ความพยายาม เคยสนุกและตาลายกับมัน (จิกซอว์ทำให้ตาลายจริงๆนะ) สุดท้ายภาพๆนั้นก็คงฝุ่นจับ และถูกเก็บไว้ในห้องใต้บันได.
เพราะฉะนั้น การครองความสัมพันธ์ให้คงอยู่ ยากกว่าการทำให้มันเกิดขึ้นซะอีก.
                                                                                         

สรุปทฤษฎี SVR นี้ก็คือลำดับขั้นตอนของความสัมพันธ์นี่แหล่ะ 
จากรู้สึกดี กลายเป็นรู้สึกรัก จากรัก ก็กลายเป็นรู้สึก...................หยุด

"หยุด หยุด ชีวิต หยุดกับคนนี้~~~"

ยังไงก็แหล่วแต๊ ก่อนจะถึงจุด "หยุด" ต้องเจอจุด "ใช่" ก่อนนะจ๊ะ

บรั๊ยBYE


ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม